เมื่อวันที่ 5 ก.ย. นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) ด้านปลอดภัย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ร่วมกับ พล.ร.อ.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ พล.ร.ท.พิชัย ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ภาค 1 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน นายนริศ นิรามัยวงศ์ รอง ผวจ.ชลบุรี และนายณัฐพล มีฤทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายการกลั่น ผู้แทนบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันแถลงข่าวสรุปผลสถานการณ์การปฏิบัติงาน และการขจัดคราบน้ำมันดิบรั่วไหลจากทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบเดี่ยวของบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
จากกรณีเกิดเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลลงสู่ทะเล ระหว่างเรือ KALLISTA (IMO 9411965) สัญชาติ ปานามา ทำการขนถ่ายสินค้า CRUDE OIL บริเวณทุ่น SBM 2 ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ณ บริเวณทะเลอ่าวไทย อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งภายหลังเกิดเหตุ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 สาขาชลบุรี ร่วมกับ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เข้าควบคุมสถานการณ์บริเวณที่เกิดเหตุทันที โดยทำการปิดวาล์วท่อน้ำมันที่เกิดปัญหาและวางทุ่นล้อมคราบน้ำมัน เพื่อป้องกันและจำกัดการแพร่กระจาย ทำให้ขณะนี้ไม่มีน้ำมันรั่วไหลเพิ่มเติม และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว
นายภูริพัฒน์ เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ในฐานะศูนย์ประสานงานป้องกัน และขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (ศูนย์ประสานงานฯ) ภายใต้คณะกรรมการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ รมว.คมนาคม สั่งการให้กรมเจ้าท่า เร่งดำเนินการขจัดคราบน้ำมันดิบรั่วไหลฯ เพื่อลดผลกระทบกับประชาชน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้น้อยที่สุด
จึงได้ประสานกับกองทัพเรือ จัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (ศูนย์ควบคุมฯ) โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนชาติ อาทิ กองทัพเรือ ทัพเรือภาคที่ 1 ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ชลบุรี สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (IESG) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เข้าพื้นที่ปฏิบัติงานขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ย. 66 โดยบูรณาการเรือและกำลังเจ้าหน้าที่ อาทิ เรือขจัดคราบน้ำมันชลธารานุรักษ์ เรือตรวจการณ์เจ้าท่า 804 เรือหลวงตาชัย เรือหลวงแสมสาร เรือ ต.235 พร้อมกำลังพล และเรือเอกชนจำนวน 10 ลำ พร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือ จากหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันน้ำมันเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งเกาะสีชัง โดยปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการใช้สารขจัดคราบน้ำมันฉีดพ่นทางอากาศ และจากเรือภาคที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมควบคุมมลพิษ โดยการปฏิบัติงานถึงวันนี้ (5 ก.ย. 66) รวมระยะเวลา 2 วัน
นายภูริพัฒน์ กล่าวต่อว่า ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์ฯ ร่วมบัญชาการสถานการณ์กับ ทรภ.1 ศรชล. และ จ.ชลบุรี บนเรือตรวจการณ์เจ้าท่า 804 โดยวางแผนการขจัดคราบน้ำมันตามทิศทางการเคลื่อนตัวและภาพถ่ายทางอากาศ โดยสั่งการให้นำเรือและอุปกรณ์ ประกอบด้วย เรือขจัดคราบน้ำมันชลธารานุรักษ์ เรือตรวจการณ์เจ้าท่า 804 เรือหลวงตาชัย เรือหลวงแสมสาร เรือ ต.235 พร้อมกำลังพล และเรือเอกชนจำนวน 10 ลำ พร้อมทุ่นกักน้ำมัน 4 เส้น ในการปฏิบัติการลาดตระเวน พ่นสารขจัดคราบน้ำมัน และตีกวนเพื่อทำให้คราบน้ำมันแตกตัวก่อนเข้าสู่ชายฝั่ง และพื้นที่อ่อนไหว ทั้งนี้ สามารถคาดการณ์ปริมาณการรั่วไหลประมาณ 60 ตัน โดยมวลน้ำมันดิบเคลื่อนตัวจากทุ่น SBM ไปตามกระแสลมและคลื่น ทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสภาพอากาศ ทิศทางกระแสลมพัดจากตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็วลมเฉลี่ย 10-15 นอต ความสูงคลื่น 1-1.5 เมตร จากการใช้โปรแกรมคำนวณการเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันจากกรมควบคุมมลพิษ ผลการคำนวณทิศทางมวลน้ำมันจะเคลื่อนตัวผ่านเกาะค้างคาว และด้านตะวันออกของเกาะสีชัง
นายภูริพัฒน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาชลบุรี ได้ดำเนินการออกคำสั่งระงับการใช้งานทุ่นเทียบเรือ SBM2 ที่เกิดเหตุ และประกาศแจ้งให้ระมัดระวังการเดินเรือในพื้นที่ อีกทั้งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเดินเรือฯ ตามบันทึกประจำวันและหนังสือมอบอำนาจ พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับบริษัทไทยออยล์ จัดตั้งศูนย์ประสานงานในการดำเนินการช่วงเวลากลางคืน วางทุ่นกักน้ำมันจำนวน 3 ปาก ดักคราบน้ำมันในเส้นทางที่คาดว่ามวลน้ำมันจะเคลื่อนตัวไป และขออุปกรณ์ในการป้องกันและขจัดคราบน้ำมันจากหน่วยงานที่มีศักยภาพมาเตรียมพร้อมในพื้นที่ หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมจะรายงานให้ทราบต่อไป